โดยภายหลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิในการยื่นเข้าโครงการ โซลาร์ภาคประชาชน ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 และได้เผยแพร่สู่สาธารณชนแล้วนั้น ได้มุ่งเน้นสนับสนุนให้ประชาชนผู้ใช้พลังงาน ประเภทครัวเรือนขนาดเล็กได้ผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์รูฟท๊อป) เพื่อใช้เอง และนำส่วนเกินที่เหลือจากการใช้ ไปขายต่อให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) โดยมีกำลังผลิตติดตั้งครัวเรือนละไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) กำหนดอัตราราคารับซื้อไฟฟ้าที่ 1.68 บาทต่อหน่วย โดยมีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้ารวม 10 ปี
ทางด้านนายวีรวัจน์ บัวทอง รองผู้ว่าการ กฟน. เปิดเผยว่า กฟน.พร้อมขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐนำร่องรับซื้อโซลาร์ภาคประชาชน ปี 2562 ส่งเสริมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งแผงเซลล์อาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง สามารถขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้เข้าสู่ระบบการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ โดยเปิดรับสมัครจำนวน 30 เมกะวัตต์ ในเขตจำหน่ายของ กฟน. ผ่านทางระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ https://spv.mea.or.th ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป โดยผู้สนใจจะเข้าร่วมโครงการฯ สามารถเข้าดูรายละเอียดขั้นตอนการรับสมัครได้ที่ www.mea.or.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ การไฟฟ้านครหลวงเขตทั้ง 18 เขต หรือศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130 และช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของ กฟน. ได้แก่ Facebook : การไฟฟ้านครหลวง (MEA) Line@ : @meanews Twitter : @mea_news ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
ทาง บริษัท เอ็นจินีโอ จำกัด เป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน เห็นว่าโครงการนี้เป็นการเริ่มต้นที่ดี สำหรับการเปิดโอากาสให้ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังานเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ความจริงแล้ว ผู้ที่สนใจติดตั้งระบบควรต้องมีผู้ที่มีความรู้และความสามารถช่วยในการยื่นเอกสาร เนื่องจากเอกสารที่จำเป็นนอกจาก เอกสารของเจ้าของบ้านแล้ว ยังจำเป็นต้องมีแบบติดตั้ง โดยมีวิศวกรโยธาเซ็นต์รับรองเพื่อยื่นขออนุญาติปรับปรุงอาคาร (อ.1) และต้องมีแบบไดอะแกรมระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่จะต้องมีวิศวกรไฟฟ้าเซ้นต์รับรองด้วย เอกาสารทั้ง 2 ไม่ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ผ่านมาทางเอ็นจินีโอ มีประสบการณ์งานขออนุญาติดังกล่าว แต่ต้องอาศัยเวลานาน เพราะต้องประสานงานกับภาครัฐหลายหน่วยงาน หลักๆคือ
1. องค์การปรครองท้องถิ่น เพื่อยื่นของแบบปรับปรุงอาคาร
2. กกพ. เพื่อลงทะเบียนละเว้นเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า
3. การไฟฟ้าท้องถิ่น เพื่อตรวจสอบระบบ
ผู้ที่สนใจสามารถเตรียมความพร้อมตามขั้นตอน 7 ขั้นตอน ตามเอกสารการแนะนำของกระทรวงพลังงานดังนี้

อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนนี้ มีข้อจำกัดคือ ให้สิทธิ เฉพาะบ้านอยู่อาศัย และอนุญาติไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ต่อหลัง และจำกัดจำนวน 100 เมกะวัตต์ เท่านั้น ดังนั้นก็ต้องรีบกันหน่อยนะ

สำหรับท่านที่ยังมีข้อสงสัยก็สามารถ สอบถามไปตามที่อยู่ด้านบนได้เลย หรือหากสนใจจะอุดหนุน สินค้าก็เชิญที่เอ็นจินีโอ รับรองท่านจะได้ สินค้าดี มีคุณภาพ รับประกันตามสากล ไม่ต้องกลัวถูกย้อมแมว ให้เจ็บใจ
พบปะพูดคุยกันได้ที่ เอ็นจินีโอ ที่นี่มีำคำตอบเรื่องพลังงาน
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่มที่ 053 222760 หรือมาเยี่ยมชมที่สำนักงานของเราและท่านจะพบกับโลกของพลังงานที่แท้จริง
สายด่วน
1. วีรญา นาคพนม โทร 081-9800551
2. ทัศณีย์ กันธิมา โทร 084-2221945
3. กมลชนก คำรังษี โทร 083-2005072 |